SIG550 ไรเฟิลคุณภาพจากแดนนาฬิกา
SIG550 ไรเฟิลคุณภาพจากแดนนาฬิกา สวิทเซอร์แลนด์หนึ่งในประเทศที่แสนสงบภูเขาสวยวิวทิวทัศน์อันแสนที่จะงดงามนาฬิกาแสนหรูหรา อาหารชึ้นชื่อก็มีมากมาย (แต่ชีสแพงชิปหาย) ถ้าคุณได้ไปประเทศที่แสนสงบนี้อย่าพลาดที่จะชิมอาหารแสนอร่อยอย่าง Fondue ร้อนๆ หรือ Geschnetzeltes ที่ทำจากเนื้อลูกวัวหั่นเป็นชิ้นบางๆเคี่ยวกับซอสครีมแสนเข้มข้น แต่วันนี้ผมจะไม่ได้มาพูดถึงเรื่องเหล่านั้นผมจะมาพูดถึงหนึ่งในไรเฟิลที่ขึ้นชื่อของสวิทเซอร์แลนด์SIG550
The history of the sig550
ย้อนกลับไปช่วงปี ค.ศ. 1963 ทาง บริษัท Schweizerische lndustrie Gesellscarhaft หรือที่พวกท่านรู้จักกันในนาม SIG นั่นแหละครับ ได้ร่วมมือกับทางบริษัท Beretta ประเทศอิตาลิ เพื่อทำการพัฒนาปืนไรเฟิลจู่โจมรุ่นใหม่ขึ้นมาเพื่อมาทดแทนปืนไรเฟิลแบบเก่าของตัวเอง โดยตัวปืนนั้นได้รับการออกแบบให้ใช้งานกระสุนขนาด 5.56x45mm Nato ได้ซึ่งทางนาโต้พึ่งประกาศให้เป็นกระสุนมาตฐานชนิดใหม่ได้ไม่นานัก โดยตัวปืนนั้นได้ใช้ระบบปฏิบัติการแบบ Gas operate roller-lock system เป็นระบบปฏิบัติการหลักของตัวปืนแต่ถึงกระนั้นหลังจากตัวปืนตัวต้นแบบนั้นออกมาได้ไม่นานนักทางกองทัพสวิสเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศชื่อของปืนกระบอกนี้มาโดยทางสวิสเซอร์แลนด์ได้ตั้งชื่อปืนกระบอกนี้ว่า sig 530 แต่ด้วยการพัฒนานั้นประสบความปัญหาความล่าช้าบวกกับทาง Beretta นั้นมีความเห็นไม่ตรงกับทาง SIG จนในที่สุดทาง Beretta นั้นได้ประกาศแยกตัวการพัฒนากับทางบริษัท SIG และได้หันไปพัฒนาปืนไรเฟิลของตัวเองโดยพัฒนาเสร็จแล้วชื่อว่า Beretta Ar70/90
โดยหลังจากทาง Beretta ได้แยกตัวไปนั้นทางบริษัท SIG ก็ได้ตัดสินใจจะนำปืนไรเฟิล SIG 530 นั้นไปพัฒนาต่อด้วยตัวของตัวเองโดยทาง SIG นั้นได้เปลี่ยนแปลงตัวระบบของลูกสูบเป็นแบบลูกสูบช่วง
ยาวและได้นำระบบrotating bolt ของปืนที่โด่งดังที่สุดในช่วงนั้นอย่าง AK-47 มาทำการดัดแปลงและทำการพัฒนากับปืนไรเฟิลของตัวเอง โดยระบบการยิงของตัวปืนนั้นมีทั้งหมด 3 แบบคือ
1.semi auto
2.Full auto
3.Brust
โดยทางบริษัท SIG นั้นพยายามทำการออกแบบตัวปืนด้วยวัสดุคุณภาพดีควบคู่กับการทำให้ตัวปืนนั้นมีราคาถูกด้วยและด้วยความที่ระบบกลไกลของมันนั้นมันซับซ้อนน้อยกว่าเจ้าปืน Sig 530 ที่กลไกลของตัวปืนนั้นซับซ้อนกว่ามากและแพงกว่ามาก โดยหลังจากที่คัวปืนนั้นได้รับการออกแบบเสร็จในปี ค.ศ. 1972 ทางบริษัท Sig นั้นได้ทำการตั้งชื่อปืนกระบอกนี้ว่า sig 540 และตัวปืนได้รับเข้าประจำการในกองทัพสวิสในช่วงปี ค.ศ. 1977 โดยทาง Sig 540 นั้นได้ใช้ระบบปฏิบัติการแบบลูกสูบยาก rotating bolt โดยตัวปืน Sig 540 นั้นมีตัวปรับแรงดันแก๊สอยู่ 3 ตำแหน่งได้แก่
1.”0” ใช้ในกรณีที่ยิงเครื่องยิงลูกระเบิดจากปากลำกล้องแบบ FN/Luchaire Type 58-N
- ”1” ใช้ในกรณีสภาพแวดล้อมปกติ
- ’’2” ใช้ในกรณีที่สภาพแวดล้อมนั้นเลวร้าย เช่นหนาวแบบพ่อตาย ร้อนแบบหูดับตับไหม้ ลุยน้ำลุยโคลนแบบชิปหายวายวอดเป็นต้น
โดยหลังจากยิงกระสุนหมดนั้นตัว Bolt ของปืนนั้นจะเปิดออกเพื่อเป็นการบอกผู้ใช้งานว่ากระสุนนั้นหมดแล้ว และศูนย์เล็ง โดยศูนย์เล็งของตัวปืนนั้นสามารถปรับระยะสูงสุดได้ที่ระยะ 500 เมตร
แต่ถึงกระนั้นทางกองทัพสวิสเซอร์แลนด์ก็ได้สั่งซื้อปืน Sig 540 นั้นไปทำการดัดแปลง(อีกครั้ง) โดยในปี 1981 ทางสวิสเซอร์แลนด์ก็ได้ทำการพัฒนากระสุนชนิดใหม่เพื่อนำไปดัดแปลงไปใช้กับเจ้าปืน sig 540 โดยทางกองทัพสวิสเซอร์แลนด์นั้นได้นำการะสุนขนาด 7.62x51mm Nato เป็นต้นแบบในการพัฒนาโดยหลังจากการพัฒนาเสร็จก็ได้กระสุนขนาด 6.45×48 GP 80 มาใช้เป็นของตัวเองแต่ถึงกระนั้นเนื่องจากขนาดของตัวกระสุนที่มันใหญ่เกินไปทางกองทัพสวิสได้ทำการนำเจ้ากระสุน 6.45×48 GP 80 ไปดัดแปลงให้มันเล็กลงและโดยลงขนาดเหลืออยู่ที่ 5.6x45mm โดยทางสวิสได้ตั้งชื่อกระสุนชนิดนี้ว่า 5.6x45mm gp90 โดยตัวกระสุนนั้นมีขนาดเท่ากับ 5.56x45mm Nato โดยมันสามารถใช้ร่วมกันได้เนื่องจากตัวกระสุนมีขนาดเท่ากันเป๊ะ (แต่ถึงจะขนาดเท่ากันใช้ร่วมกันได้แต่มันไม่ใช่ชนิดเดียวกันนะครับและกระสุน 5.6x45mm gp90 นั้นสวิสนั้นพัฒนาขึ้นมาเองโดยใช้หลักที่ว่าสามารถใช้ร่วมกับกระสุนของนาโต้ได้แต่ไม่ได้ลอกกันมาและไม่ใช่ตัวเดียวกัน)
ซึ่งทางสวิสได้ตัดสินใจนำกระสุนขนาด 5.6x45mm gp 90 เข้าประจำการโดยทางกองทัพได้ตัดสินใจนำกระสุน gp 90 นี้ไปดัดแปลงใส่กับปืน sig 540 ขอตัวเองและนำและทำการเปลี่ยนชื่อปืนที่ใช้กระสุน gp 90 นอกจากนี้แล้วตัวปืนยังได้ทำการเปลี่ยนพานท้ายแบบใหม่และทำการพัฒนาชุดยิงแบบใหม่โดยทางสวิสได้ตั้งชื่อปืนกระบอกนี้ว่า sig 541 หรือ Sturmgeweher-90 หรือเรียกย่อสั้นๆว่า stgw 90 ในขณะที่รุ่นส่งออกนั้นจะเปลี่ยนไปใช้กระสุนขนาด 5.56x45mm Nato m855 แทน โดยทางสวิสได้นำเจ้าปืน sig 541 เข้าประจำการแทนปืน Sig 540 ทั้งหมด ทำให้เจ้าปืน sig 541 นี้กลายเป็นปืนไรเฟิลประจำกายใหม่และเป็นปืนไรเฟิลมารตฐานของกองทัพสวิสในปี 1983 และเจ้าปืน sig 540 กระบอกแรกนั้นได้ออกจากโรงงานในปี 1986 (ล่อไป3ปีกว่าจะได้เข้าประจำการจริงๆ ) จนในถึงช่วงทศวรรศที่ 1990 ทาง sig ก็ได้นำเจ้า sig 541 มาพัฒนา(อีกครั้ง) ในชื่อ sig 550 โดยเจ้าปืน sig 550 นั้น ได้พัฒนาขึ้นมาเยอะมากถ้าเทียบกับตัว sig 541
โดยที่เปลี่ยนแปลงจากเจ้า sig 541 นั้นมีดังนี้
1.พานท้ายแบบ fodling stock พับเก็บได้แทนที่พานท้าย Full stock แบบเก่าที่เป็นแบบตายตัว
- น้ำหนักตัวปืนนั้นเบาขึ้นเมื่อเทียบกับเจ้า sig 541
3.ตัวปืนสามารถใช้แม็กกาซีนมารตฐานนาโต้ได้ต่างจากตัว sig 541 ที่ต้องใช้แม็กกาซีนของตัวมันเองเท่านั้น
4.ทำการเปลี่ยนปลอกลดแสงแบบใหม่เพื่อให้แรงสะบัดของตัวปืนนั้นน้อยลงเมื่อเทียบกับตัว sig 540
โดยรุ่นส่งออกของ sig 550 นั้นจะเปลี่ยนไปใช้กระสุนขนาด 5.56x45mm Nato แทนกระสุน GP-90 ของตัวเองโดยทางกองทัพสวิสเซอร์แลนด์ได้ทำการสั่งซื้อ sig 550 แทน sig 541 ที่ใช้ในกองทัพแทนทั้งหมด
Iron sight ศูนย์เล็งของปืน
ศูนย์เล็งของปืน sig 550 นั้นพัฒนามากจากศูนย์เล็งแบบเรืองแสงตอนกลางคืนของปืน hk g3 โดยตัวปืนสามารถปรับระยะเล็งสูงสุดได้ถึง 500 เมตร ซึ่งในการปรับศูนย์ของตัวปืนนั้นจะมีเลขกำกับไว้อยู่ คือ
1.ระยะ100 เมตรมีเลข1 กำกับไว้
2.ระยะ200 เมตรมีเลข2 กำกับไว้
3.ระยะ300เมตรมีเลข3 กำกับไว
4ระยะ400 เมตรมีเลข4 กำกับไว้
โดยส่วนใหญ่แล้วการปรับศูนย์เล็งให้ไปถึงระยะ 400-500 เมตรนั้นจะใช้กับการยิงแข่งขันกันการมากกว่าที่จะนำมาใช้ในการรบจริงๆ โดยศูนย์เล็งของตัวปืนนั้นจะเป็นศูนย์เล็งแบบต่ำเพื่อให้ผู้ทำการยิงนั้นชะโงกหัวออกจากที่กำบังน้อยที่สุดในขณะที่กำลังยิงปืน
Stock พานท้ายของปืน
ตัวพานท้ายของปืนนั้นจะทำการหุ้มด้วยยางเพื่อดูดซับแรงกระแทกของตัวปืนและด้านบนของพานท้ายนั้นมีแผ่นรองแก้มไว้เพื่อให้ผู้ใช้งานนั้นรู้สึกสบายและสะดวกในกางเล็งปืนมากยิ่งขึ้น โดยด้ามจับของตัวปืนนั้นมีช่องเล็กๆไว้สำหรับเป็นพื้นที่สำหรับเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดของตัวปืนได้ด้วย (ลักษณะคล้ายๆของตระกูล M16 แต่ของ M16 นั้นจะเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดไว้ที่พานท้ายของปืน )
Magazin ของปืน
แม็กกาซีนของตัวปืนนั้นจะเป็นลักษณะโปร่งใสซึ่งหมายความว่าผู้ใช้สามารถของเห็นกระสุนในแม็กกาซีนได้ว่าเหลือกระสุนอยู่นัดและตัวแม็กกาซีนนั้นทำมาจากวัสดุโพลีเมอร์ทำให้แม็กกาซีนั้นมีขนาดเบา
ภายในตัวปืน
และตัวโกร่งไกของปืนนั้นสามารถพับออกไปด้านข้างได้ด้วยหากในกรณีที่ผู้ใช้นั้นสวมถึงมือขณะยิงอยู่ ตัวด้ามจับและพานท้ายของปืนนั้นทำมาจากโพลีเมอร์คุณภาพสูงทำมาจากโพลีเมอร์คุณภาพสูงทำให้ตัวปืนนั้นมีน้ำหนักที่เบาและตัวปืนั้นยังสามารถติดตั้งขาทรายได้ด้วยโดยทางกองทัพสวิสเซอร์แลนด์นั้นได้นำเจ้าปืน sig 550 ไปทดสอบทั้งลุยน้ำลุยโคลนแบบทรหด เพื่อทดสอบความอึดถึกทนของตัวปืนโดยการทดสอบครั้งนั้นสามารถผ่านไปได้ด้วยดีถึงแม้จะมีรายงานว่าตรงตัวท่อแก็สชองปืนนั้นจะมีปัญหากับพวกโคลนหรือน้ำทำให้ตัวปืนนั้นเกิดอาการท่อแก็สกร่อนตามมาซึ่งต่อมาทางกองทัพสวิสเซอร์แลนด์ก็ได้แก้ไขปัญหาตรงนี้โดยได้เปลี่ยนไปใช้ ท่อแก็สแบบใหม่ โดยการผลิตท่อแก็สนั้นทางโรงรานจะใช้วิธีโดยทำการใช้โลหะแผ่นปั๊มขึ้นรูป โดยตัวลำกล้อง และตัว Bolt ของตัวปืนนั้นจะใช้วิธีการขึ้นรูปแล้วรบด้วยแก็สไนรโตเจน เพื่อให้ตรงส่วนลำกล้องนั้นมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้นและให้คาร์บอนภายในตัวนั้นเกิดอาการเล็กน้อยมากที่สุด โดยตัวลำกล้องของตัวปืนนั้นจะมีรอบเกลียวอยู่ 1/10 ถ้าใช้กระสุน gp 90 แต่ถ้าในรุ่นส่งออกนั้นตัวลำกล้องจะเหลือเพียง 1/7 เพื่อรองรับกระสุนขนาด 5.56x45mm Nato m855
และสำหรับภารกิจพลแม่นปืนนั้นตัวปืน sig 550 จะทำการติดกล้องเล็งกากบาท แบบ kern 4×24 กำลังขยาย x4
เครื่องยิงลูกระเบิด Grenade launcher
นอกจากนี้แล้วตัวปืนยังสามารถที่จะติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดแบบ sig gl5040 ขนาด 40 mm ได้ด้วยโดยตัวเครื่องยิงลูกระเบิดนั้นจะมีระยะยิงอยูที่ 200 เมตร โดยตัวเครื่องยิงลูกระเบิดนั้นทำมาจากวัสดุอะลูมีเนียมคุณภาพสูงทำให้ตัวเครื่องยิงลูกระบิดนั้นมีน้ำหนักเพียง 1.7 kg เท่านั้น
ดาบปลายปืน bayonet ตัวปืนั้นสามารถติดดาบปลายปืนอเมกประสงค์สำหรับการต่อสู้ระยะประชิดโดยตัวดาบนี้ ผลิต โดย wenger ตัวดาบมีความยาว 310 mm และตัวใบมีดมีความยาว 177 mm